วันพฤหัสบดีที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2555

ผู้ให้ความรู้

การทอผ้าม้ง




                                                          นาง  เพ็ญประภา  รัส
                                                       
                                                                ชาวเขาเผ่าม้ง

                                        บ้านม้ง ดอยปุย ตำบล สุเทพ จังหวัดเชียงใหม่










คณะผู้จัดทำ

                                        การทอผ้าม้ง บ้านม้ง ดอยปุย จังหวัดเชียงใหม่


          


                         1. นางสาว  จิราภา          นุมูล                      รหัสนักศึกษา  55122605
                         2. นางสาว  ธัญญารัตน์  ปั๋นกัน                     รหัสนักศึกษา  55122610
                         3. นางสาว  พรชนก        ปัญญาชาติรักษ์      รหัสนักศึกษา  55122614
                         4. นางสาว  รุ่งวิมล         มั่นคง                     รหัสนักศึกษา  55122618
                         5. นางสาว  อิสริยา         ศรีนวล                   รหัสนักศึกษา  55122627



                                                          สาขาวิชา สารสนเทศศาสตร์
                                                   คณะ  มนุษยศาสตร์และสัมคมศาสตร์
                                                          มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

วิธีการทอผ้าม้ง


ภาพที่ 1. การทอผ้าม้ง

1.  ลอกเส้นใยกัญชงออกจากลำต้นกัญชง  ซึ่งใยกัญชงจะมีสีขาวคล้ายผ้าดิบ

2.  นำใยกัญชงที่ได้มาตีให้เส้นใยแตกออกจากกันเป็นเส้นๆ  ด้วยน้ำในลำธารที่ไหลแรงและใช้คนสองคนในการจับเส้นกัญชงคนละด้าน

3.  นำเส้นใยกัญชงที่ผ่านการตีด้วยน้ำแล้ว  นำมาบดให้มีความนุ่ม  ซึ่งเครื่องบดก็จะทำด้วยไม้ลักษณะเหมือนไม้บดขนมปังแต่มีขนาดใหญ่กว่าหลายเท่า

4.  นำเส้นใยกัญชงที่บดเรียบร้อยแล้ว  นำมาต้มให้เส้นกัญชงมีความนุ่มขึ้น และง่ายต่อการทอ

5.  นำเส้นใยกัญชงตากแห้งไว้เป็นเวลา 3 วัน  แล้วจึงนำเส้นใยกัญชงเหล่านั้นมาย้อมให้เป็นสีดำ  และตากให้แห้งอีก 3 วัน

6.  เข้าสู้วิธีการทอผ้า  ช่างทอผ้าจะมีเทคนิควิธีที่สามารถทอได้อย่างประณีต  ในเวลาอย่างน้อย 3 เดือน

7.  แก้ปัญหาความไม่ประณีตของงานทอได้  ด้วยวิธีการการนำมาบดด้วยท่อนไม้

8.  เข้าสู้วิธีการปักลายบนเนื้อผ้า  ซึ่งเทคนิควิธีการก็ขึ้นอยู่กับผู้ปักว่าจะมีความเข้าใจในลายปักนั้นมากน้อยเพียงใด
                                                                     
ภาพที่ 3. การทอผ้าม้ง
ภาพที่ 2. การทอผ้าม้ง
ภาพที่ 4. การทอผ้าม้ง













วันเสาร์ที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2555

อุปกรณ์การทอผ้า

   
                                                          อุปกรณ์การทอผ้า



       ในการทอผ้าม้งนั้น อาจจะใช้ในการทอผ้าด้วยมือล้วนๆ หรือ การทอผ้าด้วยเครื่องจักร ในการทอผ้าแต่ละชิ้น อาจจะไม่เหมือนกัน เช่นในการลงลวดลาย  การทอ  หรือการนำผ้ามาต่อกันเป็นชุด  ซึ่งอาจจะแตกต่างกันไปคนละแบบ แต่ผลของผ้าที่ออกมา อาจจะออกมาดีเหมือนกัน จนแยกไม่ออกว่า ผ้าม้งชิ้นไหนทอด้วยมือ หรือผ้าชิ้นไหนทอด้วยเครื่องจักร ในการทอผ้าม้ง จะต้องมีอุปกรณ์ในการทอหลายอย่าง

ภาพที่ 1. เครื่องจักรทอผ้า
ภาพที่ 1. เครื่องจักรทอผ้า  เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการทอผ้าม้ง ชนิดหนึ่ง แบบสำเร็จรูป เพื่อความสวยงามของลายผ้าที่ทำ

ภาพที่ 2. เส้นใยกัญชง
ภาพที่ 2. เส้นใยกัญชง  เป็นอุปกรณ์ในการทอผ้า  ที่ใช้ในการถักทอผ้า ที่สวมใส่ของชาวม้ง


ภาพที่ 3. ผ้ามัดย้อมที่นำไปตากแดด

ภาพที่ 3. ผ้ามัดย้อมที่นำไปตากแดด  เป็นผ้าที่ใช้ในการทอผ้าม้ง เพื่อจะออกมาเป็นชุดที่สวมใส่กัน


ภาพที่ 4. เครื่องมือในการทอ

ภาพที่ 4. เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการทอผ้า โดยการนำผ้ามามัดกับเสาไม้ เพื่อที่จะสัมพันธ์ไปกับเครื่องทอ


ภาพที่ 5. กะทะ


ภาพที่ 5. กะทะ  เป็นเครื่องมือในการต้มขี้เฒ่า เพื่อที่จะนำผ้ามาจุ่มกับขี้เฒ่าที่ต้มไว้
ภาพที่ 6. เครื่องมือการทอผ้า
ภาพที่ 6. เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการทอ ที่นำเส้นใยกัญชงมาใส่ เพื่อที่จะทอผ้าม้ง ในแต่ละขั้นตอน


ภาพที่ 8. ผ้าที่ทอเสร็จแล้ว
ภาพที่ 7. ผ้าที่ทอเสร็จแล้ว
ภาพที่ 9. ผ้าที่ทอเสร็จแล้ว












วันพฤหัสบดีที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2555

ที่อยู่อาศัย

     ที่อยู่อาศัยของชาวเขาเผ่าม้งนั้น จะตั้งอยู่ตามภูเขาสูง หรือที่ราบสูงในเขตพื้นที่จังหวัดเชียงราย พะเยา น่าน เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน แพร่ ลำปาง กำแพงเพชร เลย พิษณุโลก เพชรบูรณ์ สุโขทัย และตาก มีจำนวนประชากรทั้งสิ้นประมาณ 151,080 คน เพราะ ชอบทำการเกษตร มีสวนมีไร่เป็นของตัวเองและตามหมู่บ้าน อากาศบนพื้นบ้านของชาวม้ง มีอากาศเย็น และเป็นธรรมชาติ ( มูลนิธิกระจกเงา , ม.ป.ป.)


ภาพที่ 1. อากาศของบ้านม้ง ดอยปุย จังหวัด เชียงใหม่

          บรรยากาศของบ้านม้ง ดอยปุย จังหวัดเชียงใหม่ มีบรรยากาศที่ดี เป็นธรรมชาติ แต่มีอากาศหนาว ถ้าฝนตก จะมีหมอกควัน เต็มท้องฟ้า จนไม่เห็นทางเดิน






ภาพที่ 2. บ้านม้ง ดอยปุย จังหวัดเชียงใหม่

          ในลักษณะบ้านของ บ้านม้งดอยปุย จังหวัดเชียงใหม่นั้น  จะมีลักษณะเป็นกระต๊อบ เป็นบ้านไม้ เป็นส่วนใหญ่ ในแต่ละบ้าน จะมีลักษณะคล้ายๆและเหมือนกันไปทุกๆบ้าน เพราะเป็นวิถีชีวิตและความเป็นอยู่ของชาวเขาเผ่าม้ง

ภาพที่ 3. ลักษณะของบ้านม้ง ดอยปุย จังหวัดเชียงใหม่

          สภาพที่อยู่อาศัยของบ้านม้ง ดอยปุย จังหวัดเชียงใหม่ เป็นที่อยู่อาศัยที่ที่ หน้าอยู่แห่งหนึ่ง มีบ้านที่สวยงามไปคนละแบบ กับบ้านปูนและบ้านไม้  ชาวม้งบนดอยปุยส่วนใหญ่ จะอยู่ อย่างเป็นธรรมชาติ มีสวน มีไร่เป็นของตัวเอง  มีการค้าขายของแต่ละหมู่บ้าน โดยส่วนใหญ่ จะทำอาชีพเป็น เกษตรกร


ภาพที่ 4. สวนดอกไม้ บ้านดอยปุย จังหวัดเชียงใหม่
ภาพที่ 5. สวนดอกไม้ บ้านม้งดอยปุย จังหวัดเชียงใหม่


     








           สวนดอกไม้ บ้านม้ง ดอยปุย จังหวัดเชียงใหม่ มีดอกไม้อยู่หลายชนิด แต่ละชนิดเป็นดอกที่มีสีสันสด และมีความสวยงาม  เป็นสวนและไร่ของชาวม้ง ที่ชาวม้ง ดูแล และปลูกเอง  บางชนิดอาจจะขึ้นตามธรรมชาติ แต่มีความดูแลของชาวเขาเผ่าม้ง ทำให้สวนดอกไม้ มีความสวยงาม  นอกจากนี้ สวนดอกไม้ ยังมีความเป็นธรรมชาติ บรรยากาศดี เหมาะกับสถานที่ท่องเที่ยว และเป็นที่ประทับใจอย่างหนึ่งของชาวต่างชาติและผู้ที่สนใจ ในหมู่บ้านม้ง ดอยปุย จังหวัดเชียงใหม่ เป็นต้น

ลวดลายของผ้าปักชาวม้ง

       ลวดลายของการทอผ้าม้ง บ้านม้งดอยปุย จังหวัดเชียงใหม่ จากการที่ได้ไปศึกษาในหมู่บ้านม้งดอยปุยแล้วนั้น ค้นพบว่ามีลวดลายที่สวยงามมากมาย  ซึ่งชาวบ้านได้ค้นคิดลวดลายขึ้นมาเอง และทอผ้าเองด้วยความประณีตของลวดลายต่างๆ
                                                     
ภาพที่ 1 ลายก้นหอยผสมลายลูกศร
                                      
   ภาพที่ 1. ลายลูกศร                                                                                                                            
           ลายลูกศร เป็นผ้าที่ทอด้วยมือ ของ ชาวเผ่าม้ง บ้านม้งดอยปุย จังหวัดเชียงใหม่ เป็นลายที่สวยงาม เหมาะกับการในออกงานทั่วไปหรือแล้วแต่คนชอบส่วนบุคคล และมีการประณีตในการทอผ้าของลายนี้ เพื่อให้ผ้าที่ทอออกมากมีความสวยงาม



ภาพที่ 2 ลายฟันเลื้อ

       
ภาพที่ 2. ลายฟันเลื้อย
             ลายฟันเลื้อยเป็นลวดลายของผ้าทอชาวเผ่าม้งชนิดหนึ่ง ที่มีลายผ้าที่สวยงาม และมีความประณีตในการถักทอผ้า  ลายผ้าชนิดนี้ไม่ค่อยนิยมทอมากนัก  แต่เป็นผ้าในการคิดค้นลายของแต่ละหมู่บ้าน เพื่อที่จะออกมาดูสวยงามและเป็นที่น่าชื่นชมของคนทั่วไป
               


                                                                                       
ภาพที่ 3. ลายดาว
                                                                                     
  ภาพที่ 3. ลายดาว         
              ลายดาวเป็นลายผ้าทอของชาวเผ่าม้ง เป็นลายผ้าที่ชาวม้งส่วนใหญ่นิยมใส่กัน เป็นลายที่มีคล้ายดวงดาวบนท้องฟ้า จะมีกลีบเล็กกลีบใหญ่ออกมาเหมือนดวงดาว แล้วแต่คนชอบของลาย และอยู่ที่ความคิดสร้างสรรค์ของแต่ละคน
ภาพที่ 4. ลายก้นหอย

ภาพที่ 4 ลายก้นหอย
            ลายก้นหอยเป็นลายผ้าที่มีลวดลายสวยงาม เป็นลายผ้าของชาวเผ่าม้ง ชาวม้งส่วนใหญ่มักจะใส่กัน ส่วนใหญ่จะเป็นผู้หญิงที่ชอบลายก้นหอย  และชาวเผ่าม้งมีความประณีตในการทอผ้า เพื่อให้ผลงานที่ออกมานั้น ดีและมีคุณภาพที่สวยงาม




        
              ภาพที่ 5. ลายเท้าช้าง
ภาพที่ 5. ลายเท้าช้าง
            ลายเท้าช้างเป็นลายของผ้าชาวเผ่าม้งลายหนึ่งที่นิยมสวมใส่กันทั้งหญิงและชาย เป็นลายที่ชาวเขาเผ่าม้งยึดถือเป็นสิริมงคลแก่ผู้ที่สวมใส่ในลายผ้านี้ ซึ่งชาวม้งจะมีการทอผ้าอย่างมีความประณีต เพื่อให้ผ้าที่ปักนั้นมีความสวยงามและมีลายผ้าที่ออกมาดี เพื่อที่จะนำมาใช้งานได้



   

ประวัติความเป็นมา

                                                             การทอผ้าม้ง


ผ้าปักลายดอกไม้ผสมดาว



             หมู่บ้านม้งดอยปุยก่อตั้งเมื่อประมาณปี พ.ศ.2490-2492 เป็นต้นมา เป็นหมู่บ้านลำดับที่ 11 ของตำบลสุเทพ อะเภอเมือง จังหวัด เชียงใหม่อยู่ห่างจากตัวเมืองเชียงใหม่ 25 กิโลเมตร ห่างจากพระตำหนักภูพิงค์  3กิโลเมตร เป็นหมู่บ้าน ท่องเที่ยวที่มีความสำคัญแห่งหนึ่งของ จังหวัดเชียงใหม่ ที่ตั้งอยู่ทิศตะวันตกของตัวเมืองเชียงใหม่  ชุมชนส่วนใหญ่มีอาชีะค้าขาย ทำเกษตรกรรม ทำสวนและกลุ่มพืชผักและการท่องเที่ยว มีวัฒนธรรมที่มีเอกลักษณ์เฉพาะ เช่น ชุดเสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย ภาาาพูด และงาน
ศิลปหัตถกรรม ชาวม้งจะนับถือหลายศาสนา เช่น ศาสนาพุทธ  คริสต์  อิสลาม และมีการนับถือบรรพบุรุษ มีพิธีกรรมทางศาสนาทุกศาสนาที่นับถือ และะมีพิธีกรรมตามความเชื่อในบรรพชน มีข้อห้ามและหลักเกณฑ์ต่างๆ ตามความเชื่อในอดีตและปัจจุบัน
( มูลนิธิกระจกเงา , ม.ป.ป.)

            ในอดีตขาวเขาส่วนใหญ่จะใช้ผ้าไหมดิบที่ผลิตเองมาปักเป็นลวดลายต่างๆ ซึ่งลวดลายนี้
ชาวม้งจะเป็นคนคิดค้นลวดลายเอง ปกติแล้ว ชาวม้งจะมีความประณีตในการคิดลวดลาย และการปักลวดลายต่างๆ ซึ่งจะเห็นได้จากกระโปรงของม้งที่ทำจากผ้าบาติกกับผ้าปัก แต่ส่วนใหญ่ ผ้าที่ใช้ปักนั้น ทำมาจากผ้าใยกันชง เมื่อมีการปักผ้าเสร็จแล้วจะนำมาแปลรูปมาเป็นเสื้อผ้าที่จะสวมใส่ในเทศกาลปีใหม่ หรือวันสำคัญต่างๆ นอกจากนี้ยังสามารถที่จะประดิษฐ์เป็นเครื่องใช้อย่างอื่นได้ เช่น ถุงย่าม กระเป๋าสะพาย กระเป๋าเป้ กระเป๋าสตางค์ ถุงใส่โทรศัพท์มือถือ และเครื่องใช้ต่างๆ เป็นต้น
( โครงการพิพิธภัณฑ์ชาวเขา , 2551 )


          
                               บ้านม้งดอยปุย ตำบลสุเทพ  อำเภอ เมือง จังหวัด เชียงใหม่